Saturday, May 31, 2014

นำเสนองานกลุ่มเรื่อง "อสม."

อาสาสมัครสาธารณสุข กลไก/องค์กรการพัฒนาในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นบุคลากรด้านสาธารณสุขภาคประชาชน จากดำเนินดารในรูปของอาสาสมัคร ไม่มีค่สตอบแทนใดๆ ระยะเวลามากกว่า 20 ปี อสม.พัฒนาตนเอง จนกลายเป็นพลังของภาคประชาขนที่ดำเนินสนับสนุนช่วยเหลือรัฐบาลในการพัฒนางานสาธารณสุข และปัจจุบัน อาสาสมัครสาธารณสุข ทำงานโดยมีค่าตอบแทน. (สมิติ/วรรณภา)

คำถามสำคัญ คือ
1. งานของอาสาสมัครสาธารณสุขในปัจจุบัน จะยังคงเป็นงานอาสาสมัครหรือไม่
2. งานสาธารณสุขในระดับชุมชน จะมีความยั่งยืนนำไปสู่การจัดการตนเองของชุมชนในเรื่องการดูแลสุขภาวะของบุคคล/ชุมชนได้หรือไม่


นำเสนอกองทุนหมู่บ้านกทบ.)

กองทุนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน บางส่วนมองว่าเป็นโครงการประชานิยม แต่อย่างไรก็ตาม กองทุนหมู่บ้านเป็นการใชีเงินเป็นเครื่องมือในการพัฒนาที่มีลักษณะคล้ายเคียงกันของกองทุนอื่นๆที่ดำเนินการมาในอดีต (กฤษณ์/ปนัดดา)

คำถามสำคัญคือ
1. กองทุนหมู่บ้านเป็นโครงการประชานิยมจริงหรือ
2. ความยั่งยืนของกองทุนหมู่บ้านต้องมีปัจจัยใดบ้าง
3. แนวทางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่กองทุนหมู่บ้าน
4. กองทุนหมู่บ้านส่งผลกระทบต่อการบริหารการพัฒนาท้องถิ่นอย่างไร


นำเสนอโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(กข.คจ.)1062557

นักศึกษาปกครองนำเสนอโครงการแก้ไขปัญหาแก้ไขปัญหาความยากจน สาระสำคัญคือ
1. ความเป็นมาของโครงการ
2. การบริหารจัดการโครงการ
3. ปัญหาอุปสรรคของโครงการ


คำถามที่ควรพจารณา
1. โครงการ กข.คจ. แตกต่างกับโครงการกองทุนหมู่บ้านหรือไม่
2. ผลกระทบต่อการบริหารการพัฒนาหมู่บ้านอย่างไร
3. ความยั่งยืนความต่อเนื่องของโครงการ


Saturday, April 26, 2014

งานกลุ่มสำหรับรายวิชาการบริหารการพัฒนา

มอบหมายให้นักศึกษาจับคู่กัน ทำการศึกษารายละเอียกของเรื่อง/ประเด็นที่ได้รับมอบหมาย โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ความเป็นมา/ความสำคัญ
2. วัตถุประสงค์
3. กระบวนการ/ขันตอนการดำเนินงาน
4. กิจกรรมที่ดำเนินการ(รูปธรรมของการดำเนินงานที่นักศึกษาพบเห็นในชุใชนของตนเอง
5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน
6. ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของนักศึกษาต่อกิจดรรม/โครงการ






Saturday, April 19, 2014

สาระการเรียนวันนี้(20/4/57)

ประเด็นของการพูดคุยคือ การเสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศ โดย นพ.ประเวช วะสี ได้นำเสนอประเด็นการปฏิรูป จำนวน 8 เรื่อง คือ
1. การปกครอง
2. ความยุติธรรม
3. การจัดสรรทรัพยากร
4. ปัญญาของชาติ
5. เศรษฐกิจ
6. การเมือง/ระบบราชการ
7. ขจัดคอรับชั่น
8. ปฏิรูปสังคม


Sunday, March 9, 2014

สาระการเรียนวันที่9/4/57

สาระสำคัญของการเรียนวันนี้คือ การพิจารณาถึงการบริหารจัดการการพัฒนาในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่นักศึกษาใกล้ชิดที่สุด การดิจาณา/การพูดคุย ทำให้เห็นถึงองค์ประกอบของหมู่บ้าน โดยยึดหลักการบริหาร กล่าวคือ ปัจจัยทางการบริหารประกอบด้วย 4m(เป็นอย่างน้อย โดยนักศึกษาช่วยกันเขียน mindmap ดังนี้


ประเด็นหลักที่นำมาวิเคราะห์ร่วมกันคือ กองทุนหมู่บ้าน ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ได้ดำเนินการผ่านมาหลายปี โดยใช้ฐานหมู่บ้านเป็นพื้นที่ดำเนินการ

มีคำถามที่จะให้นักศึกษาช่วยกันหาคำถาม คือ
(๑) ปัญหาสำคัญของกอลทุนหมู่บ้าน นักศึกษาคิดว่าคืออะไร
(๒) จะมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาใน(๑) อย่างไร

เขียนคำตอบลงใน comments และกรุณาลงชื่อของตนเองด้วย

อ.สุริยะ พิศิษฐอรรถการ

Saturday, March 8, 2014

เพื่อนร่วมเรียนวันนี้(9/3/57)

วันนี้เป็นสัปดาห์ที่สองของการเรียน รายวิชา การบริหารการพัฒนาท้องถิ่น สาระสำคัญของการเรียน คือ การบริหารการพัฒนาระดับหมู่บ้าน โดยนักศึกษาร่วมกันเขียน mindmap. ระดมความคิดเห็นและข้อมูลที่ตนเองเคยประสบมา โดยใช้หลักการบริหารมาเป็นหลักในการพิจารณา



สุดารัตน์  ศรีใส
 
 
อภินันท์  ดีดวงพันธ์
 
 
ธิดา  บุญเรืองนาม 
 
 
ศุภารา  ช่วยกลาง
 
 
สุวรรณ์  พิลาศรี
 

จารุณ  โสมณวัฒน์
 

การเขียน mindmap


ปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์ ชาร์ตพลังความจำให้เต็มเปี่ยม และเปลี่ยน
วิถีชีวิตของคุณใหม่!!


สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาแนะนำเืรื่องการเขียน Mind Map นะครับ
เพราะว่าเพิ่งจะได้ไปเรียนวิชาเขียน Mind Map อย่างถูกต้อง
ตามหลักมาตรฐานสากลของคุณ Tony Buzan มาครับ

ซึ่งสอนโดย ท่านอาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล
อ.ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ จุฬาฯ

หลายๆ คนคงจะรู้จักหรือเคยได้ยิน Mind Map กันมาบ้างนะครับ
บางคนอาจจะเคยเรียนจากโรงเรียนมาแล้วเสียด้วยซ้ำ

วันนี้ผมจะพาไปรู้จัก Mind map กันให้มากขึ้นครับผม


            Mind Map คืออีหยัง?  

Mind Mapก็คือเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ช่วยในการเขียนแผนผังความคิดของคุณได้อย่าง

อิสระสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะใช้ในด้านการเรียน การทำงาน

การบริหาร การ... จิปาถะครับ


mind map นั้นจะมีการใช้ข้อความที่เป็นคีย์เวิร์ด มีการใช้สีสันที่หลากหลายเพื่อสร้างจินตนาการ
มีการวาดรูปประกอบ เพื่อเพิ่มความจำด้วยครับ


            แ้ล้วถ้าจะเขียน Mind Map ต้องเตรียมอะไรบ้าง?


การเขียน Mind Map ไม่ได้ยากอะไรเลยครับเมื่อเทียบกับการทำการบ้านวิชาแคลคูลัส
ผมพูดจริงๆนะครับ  ไม่เชื่อก็ลองอ่านต่อละกัน 55++  และนี่คือสิ่งที่ต้องเตรียมคับ


            

  • กระดาษเปล่าๆ 1 ใบ ไม่มีเส้นจะดีที่สุด ขนาดอย่างน้อยเท่า A4
  • ปากกาหลากสี หรือสีดินสอ ปากกาสี (มีหลายๆสียิ่งดีครับ)
  • หัวสมองของคุณ
  • จินตนาการของคุณ!!


เห็นไหมละครับ มันไม่ได้มีอะไรยุ่งยากเลย
เมื่อคุณใช้ Mind Maps ทุกวี่วันแล้วละก็ คุณจะพบว่ามันเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง
และมีประิสิทธิภาพที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างมากครับ เพราะว่าเราสามารถปลดปล่อย
ความคิด จินตนาการลงไปในแม็พของเราได้เต็มที่ แถมทำให้การนั่งจดเล็กเชอร์
ดูไม่น่าเบื่อด้วย  จากการวิจัยพบว่า เหล่าอัจฉริยะส่วนใหญ่มักจะจดบันทึกด้วย
การวาดภาพประกอบซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของ Mind Map นั่นเอง


ต่อไปเป็น 7 ขั้นตอนวิธีในการเขียน Mind Map ครับ

  • เริ่มวาดที่จุด "กึ่งกลาง" ของกระดาษก่อน  ทำไมละ?  . Why?
    ก็เพราะว่าการเริ่มต้นที่จุดกึ่งกลางจะทำให้สมองของเราเป็นอิสระ
    พร้อมที่แตกหน่อความคิดออกไปยังทุกทิศทางไงละครับ เอิ้กๆๆ
  • ใช้รูปภาพหรือวาดรูปประกอบไอเดียที่คุณเพิ่งจะเขียนไปตรงจุดกึ่งกลางตะกี้  ทำไมละ
    ก็เพราะว่ารูปภาพมีความหมายนับล้านคำไงละครับ  และยังช่วยให้เราได้ใช้จินตนาการไปในตัวด้วย 
    ภาพที่อยู่ตรงกึ่งกลางจะดูน่าสนใจเพิ่มขึ้นทำให้เรามีจุดโฟกัสที่แน่นอน ดึงดูดความสนใจ
    และทำให้รอยหยักในสมองได้เพิ่มขึ้นด้วย!!
  • ใช้สีหลากสีสัน  ทำไม?  ก็เพราะว่าสีจะทำให้สมองของคุณได้ตื่นตัว ตื่นเต้น ตื่นตูม
    (เย้ยยย 555+)   สีสันจะทำให้แม็พของพวกเราดูมีชีวิตชีวาน่าอ่านมากยิ่งขึ้นไงครับ 
    แถมการนั่งวาดภาพระบายสีมันก็ได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ด้วยนะเออ
  • วาด "กิ่ง" ออกมาจากภาพตรงกลางแล้วแตกกิ่งก้านสาขาออกมาตามที่สมองเราจะคิดได้
    ต้องให้เส้นเชื่อมต่อกันนะครับเหตุผลก็เพราะว่าสมองของมนุษย์ทำงานแบบเชื่อมโยงเข้าหากัน
    มันไม่ได้ทำงานแบบโดดเดี่ยวเอกา  แต่ทำงานแบบจอยกับอย่างอื่นด้วย

  • วาดเส้นกิ่งให้ "โค้ง"  ดีกว่าวาดแบบ "เส้นตรง"  อ้าว!! ทำไมละ??  เหตุผล
    ไม่มีไรร็อก แค่จะบอกว่า เส้นตรงๆ อ่ะมันดูน่าเบื่อไป 55+
  • ใช้เพียงแค่ "คีย์เวิร์ด" เท่านั้น สำหรับเส้นกิ่งแต่ละเส้นและคีย์เวิร์ดต้องอยู่บนเส้นนะครับ
    ไม่ใ่ช่อยู่ด้านล่างเส้น  เหตุผลที่เขียนเฉพาะคีย์เวิร์ดก็เพราะว่า
    คีย์เวิร์ดแบบโดดๆจะทำให้แม็พของคุณดูมีพลังและยืดหยุ่นได้

นี่แหล่ะครับขั้นตอนการวาดแม็พ ไม่ได้ยากอะไรเล้ย แม่นบ่??

แต่!! วันนี้ผมจะพาไปดูการเขียน Mind Map ที่ผิดด้วยครับ ซึ่งผมเองก็เพิ่งทราบ
และอาจารย์บอกว่า ครูหลายคน (ซึ่งเยอะมาก) สอนเด็กให้เขียน Mind Maps
ที่ยังไม่ถูกหลัก หรือเรียกได้ว่าไม่ถูกต้องเลยแหล่ะ มาดูครับว่า มันเป็นแบบไหน

เสนอความคิดเห็น "จังหวัดจัดการตนเอง

นักศึกษาคิดว่า แนวคิดเรื่อง จังหวัดจัดการตนเอง มีความเป็นไปได้หรือไม่

(๑) นักศึกษาเข้่ใจว่าอย่างไร
(๒) เป็นไปได้หรือไม่
(๓) ได้/ไม่ได้ เป็นเพราะเหตุใด

เขียนใน Comment และกรุณาบอกชื่อ-นามสกุล และข้อเสนอแนะอื่นๆ (ถ้ามี)

ธรรมนูญ เพื่อการจัดการตนเอง

แนวคิดใหม่เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย....จังหวัดจัดการตนเอง มีสาระสำคัญที่น่าสนใจ กด LINKED ด้านล่างนะครับ
http://www.reform.or.th/wp-content/uploads/2013/03/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%991_%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87.pdf

http://www.sapasakhon.com/sapasakhon/main/wp-content/uploads/2013/05/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87.pdf

กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนา


กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาท้องถิ่น

ดร.อภิชาติ ดำดี

 
ปัจจุบันสังคมไทยได้มีการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึงครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค โดยมีรูปแบบขององค์กรท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไป อาทิ องค์กรท้องถิ่นที่มีความเก่าแก่ยาวนานมากที่สุดอย่างเทศบาล ถัดมาคือองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์กรท้องถิ่นที่เกิดขึ้นหลังสุดอย่างองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) รวมทั้งการปกครองพิเศษอีก 2 รูปแบบคือ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา

ความสำเร็จในการบริหารการพัฒนาท้องถิ่นจึงฝากไว้กับผู้นำองค์กรท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ กระบวนทัศน์ (paradigm) หรือแนวความคิดอย่างเป็นระบบในการพัฒนาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้นำองค์กรท้องถิ่นในการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญ

จากการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการผสมผสานกับประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้มีโอกาสคลุกคลีกับองค์กรท้องถิ่นในฐานะวิทยากรและสื่อสารมวลชนที่ทำงานด้านท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน พอจะสังเคราะห์ออกมาเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาท้องถิ่นดังต่อไปนี้

1. การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) การพัฒนาที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน หมายถึงเป็นการพัฒนาที่ทำให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมและสังคมที่ดีงาม เข้มแข็งพอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นและเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ

2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) การพัฒนาที่ดีนั้นไม่จำเป็นต้องติดยึดอยู่กับตำราหรือทฤษฎีการพัฒนาแบบตะวันตกที่อาจไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นจึงเป็นแนวทางที่นักบริหารการพัฒนาพึงให้ความสำคัญ เป็นความจำเป็นที่ผู้นำองค์กรท้องถิ่นต้องรู้เท่าทัน มองเห็นโลกทั้งใบ แต่ต้องเข้าใจท้องถิ่นของตนเองอย่างแท้จริง เพื่อออกแบบการพัฒนาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพ ภูมิสังคม ของท้องถิ่นนั้นๆ “Think Globally, but Act Locally” (Peter Drucker)

3. ความเสมอภาค (Equity) เป็นหัวใจสำคัญของสังคมประชาธิปไตยที่ให้ความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน กระบวนทัศน์ในการพัฒนาก็เช่นเดียวกัน ประชาชนทุกคนต้องมีความเท่าเทียมกันในการได้รับโอกาสจากการพัฒนา นโยบายสาธารณะและโครงการพัฒนาด้านต่างๆ ขององค์กรท้องถิ่นจึงต้องอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค ไม่ใช่กำหนดมาจากพรรคพวก, หัวคะแนนหรือฐานคะแนนเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นก็ต้องคำนึงถึงโครงสร้างของการกระจายรายได้ควบคู่ไปกับความเจริญเติบโตด้วย

4. การกระจายอำนาจ (Empowerment) สังคมโลกปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการกระจายอำนาจทั้งในระดับโลก ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ด้วยความเป็นโลกแห่งการสื่อสารไร้พรมแดน การกระจายอำนาจจึงเป็นแนวคิดสำคัญสำหรับการพัฒนาทุกระดับ ภายใต้หลักการที่ว่าไม่มีผู้ปกครองใดที่เข้าใจ ใกล้ชิด และเข้าถึงประชาชนและการแก้ปัญหาได้ดีเท่ากับผู้ปกครองที่มาจากประชาชนด้วยกันเอง การบริหารการพัฒนายุคใหม่จึงต้องเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน (Participation) เพื่อให้การพัฒนาและการแก้ปัญหาสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง และวิธีการพัฒนานั้นต้องเป็นแบบจากล่างขึ้นบน (Bottom Up) ไม่ใช่แบบบนลงล่าง (Top Down Management) เหมือนอย่างในอดีต

5. ความคุ้มค่า (Pruductivity) หมายถึงการพัฒนาต่างๆนั้นมีความคุ้มค่าหรือไม่เมื่อเปรียบเทียบทรัพยากรที่ใช้ไปกับผลที่ได้รับกลับมา ในภาคเอกชนนั้นมักจะเน้นการบริหารที่มีประสิทธิภาพ (Efficiency) คือทำถูกวิธี (Do Thing Right) เพื่อให้ต้นทุนต่ำสุด ได้กำไรสูงสุด แต่ในภาครัฐหรือองค์กรท้องถิ่นที่มีประโยชน์สาธารณะ (Public Benefit) เป็นเป้าหมายนั้นควรเน้นการบริหารที่มีประสิทธิผล (Effective) คือทำถูกเรื่อง (Do right Thing) โดยมุ่งที่ประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก โครงการพัฒนาบางอย่างอาจไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ แต่ถ้ามีความคุ้มค่าในเชิงสังคม, วัฒนธรรม, การศึกษา หรือคุณภาพชีวิตของประชาชนก็อาจดำเนินการได้

 

กระบวนทัศน์ในการพัฒนาเหล่านี้ ต้องอยู่ภายใต้ร่มธงใหญ่คือ หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) หรือหลักในการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี อัน ประกอบด้วย การมีส่วนร่วม (Participation) / ความโปร่งใส (Transparency) / การตรวจสอบได้ (Accoutability) / นิติธรรม (Rules of Law)

นอกจากนี้แล้วในหลักพระพุทธศาสนาก็ยังมีหลักธรรมหลายเรื่องที่เหมาะสม อย่างยิ่งที่สังคมไทยควรจะน้อมนำมาใช้เป็นภูมิปัญญาในการประพฤติปฏิบัติเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ทั้งในส่วนที่เป็นผู้นำชุมชนและสมาชิกของชุมชน อาทิ

คุณธรรมสำหรับผู้นำชุมชน ประกอบด้วยราชสังคหะ คือ ทำนุบำรุงทวยราษฎร์ให้ประชาชาติดำรงอยู่ในเอกภาพและสามัคคีด้วยหลักธรรมที่เรียกว่า ราชสังคหวัตถุ (หลักการสงเคราะห์ประชาชนของพระราชา) 4 ประการ คือ

1. สัสสเมธะ ฉลาดบำรุงธัญญาหาร คือ ปรีชาสามารถในนโยบายที่จะบำรุงพืช พันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรให้อุดมสมบูรณ์

2. ปุริสเมธะ ฉลาดบำรุงข้าราชการ คือ ปรีชาสามารถในนโยบายที่จะบำรุง ข้าราชการ ด้วยการส่งเสริมคนดีมีความสามารถ และจัดสวัสดิการให้ดี เป็นต้น

3. สัมมาปาสะ ผูกประสานปวงประชา คือ ผดุงผสานประชาชนไว้ด้วยนโยบาย ส่งเสริมอาชีพ เช่น จัดทุนให้คนยากจนยืมไปสร้างตนในพาณิชยกรรม หรือ ดำเนินกิจการต่าง ๆ ไม่ให้ฐานะเหลื่อมล้ำห่างเหินจนแตกแยกกัน

4. วาชไปยะ มีวาทะดูดดื่มใจ คือ รู้จักพูด รู้จักชี้แจงแนะนำ รู้จักทักทาย ไถ่ถาม ทุกข์สุข ราษฎรทุกชั้น แม้ปราศรัยก็ไพเราะน่าฟัง ทั้งประกอบด้วยเหตุผลเป็น หลักฐาน มีประโยชน์ เป็นทางแห่งการสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหาเสริมความ สามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจดี ความเชื่อถือ และความนิยมนับถือ

คุณธรรมสำหรับสมาชิกของชุมชน คือมีส่วนในการปกครอง โดยปฏิบัติตามหลักการร่วมรับผิดชอบ ที่จะช่วยป้องกันความเสื่อม นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองโดยส่วนเดียวที่เรียกว่า อปริหานิยธรรม 7 ประการ คือ

1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พบปะปรึกษาหารือกิจการงาน (ที่พึงรับผิดชอบ ตามระดับของตน) โดยสม่ำเสมอ

2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจ ทั้งหลายที่พึงทำร่วมกัน

3. ไม่ถืออำเภอใจใคร่ต่อความสะดวก บัญญัติวางข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อัน มิได้ตกลงบัญญัติวางไว้ และไม่เหยียบย่ำล้มล้างสิ่งที่ตกลงวางบัญญัติกันไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นอยู่ในบทบัญญัติใหญ่ที่วางไว้เป็นธรรมนูญ

4. ท่านผู้ใดเป็นผู้ใหญ่มีประสบการณ์ยาวนาน ให้เกียรติเคารพนับถือท่าน เหล่านั้นมองเห็นความสำคัญแห่งถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันพึงรับฟัง

5. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น ให้เกียรติและคุ้มครองกุลสตรี มิให้มีการ ข่มเหงรังแก

6. เคารพบูชาสักการะเจดีย์ ปูชนียสถาน อนุสาวรีย์ประจำชาติ อันเป็นเครื่อง เตือนความทรงจำ ยินดีในการที่จะอยู่อย่างสงบ เร้าให้ทำดี และเป็นที่รวมใจ ของหมู่ชน ไม่ละเลยพิธีเคารพบูชา อันพึงทำต่ออนุสรณ์สถานเหล่านั้นตามประเพณี

7. จัดการให้ความอารักขา บำรุง คุ้มครองอันชอบธรรมแก่บรรพชิต ผู้ทรงศีล ทรงธรรมบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นหลักใจและเป็นตัวอย่างทางศีลธรรมของประชาชน เต็มใจต้อนรับและหวังให้ท่านอยู่โดยผาสุก ความตั้งใจที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และปรารถนาดีต่อมนุษยชาติ และการต้อนรับผู้มาเยือนด้วยความยินดีให้มี ความสุข
อปริหานิยธรรมนี้เป็นหลักธรรมสำหรับการมีส่วนในการปกครอง ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบันที่มุ่งเน้นการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม

อบจ.กลไกการพัฒนาจังหวัด


การปกครองท้องถิ่นไทย : องค์การบริหารส่วนจังหวัด


องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
 

ความเป็นมา

โครงสร้าง อบจ. ตาม พ... องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2498
โครงสร้างและองค์ประกอบของ อบจ.
อำนาจหน้าที่ของ อบจ.
อำนาจหน้าที่ของสภาจังหวัด

โครงสร้าง อบจ. ตาม พ... องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2540

โครงสร้างและองค์ประกอบ อบจ.

อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
การกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนจังหวัด
 

 
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือเรียกชื่อย่อว่า อบจ.” ซึ่งในปัจจุบัน อบจ. ถือเป็นรูปแบบการ   ปกครองท้องถิ่นไทยรูปแบบหนึ่ง ที่มีความเป็นมาและมีวิวัฒนาการการปรับปรุงแก้ไขตลอดมาตามลำดับ

ความเป็นมา

.. 2476  ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. 2476 กำหนดให้จังหวัดเป็นหน่วยงานบริหารส่วนภูมิภาค โดยอำนาจการบริหารงานในจังหวัดอยู่ภายใต้การดำเนินงานของกรมการจังหวัด ซึ่งมีข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นประธาน

ในปีเดียวกัน ได้มีการจัดตั้งสภาจังหวัดตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.. 2476 เพื่อให้มีบทบาทหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่คณะกรมการจังหวัด โดยฐานะของสภาจังหวัดยังมิได้เป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากราชการภูมิภาค

.. 2481  ได้มีการตราพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.. 2481 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแยกกฎหมายสภาจังหวัดไว้โดยเฉพาะ แต่สภาจังหวัดยังมีลักษณะคงเดิม กล่าวคือทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาของกรมการจังหวัด

.. 2485  ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  กำหนดให้ผู้ว่า- ราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและความรับผิดชอบบริหารราชการในจังหวัดของกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ทำให้อำนาจของกรมการจังหวัดเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนั้นโดยผลของกฎหมายฉบับนี้ทำให้สภาจังหวัดจึงมีฐานะเป็นสภาที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย

.. 2498  ได้มีความพยายามในการจัดการปกครองท้องถิ่น โดยมีแนวความคิดที่จะปรับปรุง   บทบาทของสภาจังหวัดให้มีประสิทธิภาพและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิด องค์การบริหารส่วนจังหวัด” (อบจ.) ขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.. 2498    ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม กำหนดให้ อบจ. มีฐานะเป็นนิติบุคคลและแยกจากจังหวัดซึ่งเป็น     ราชการส่วนภูมิภาค และโครงสร้างและองค์ประกอบของ อบจ. ใช้มาจนถึง พ.. 2540 สำหรับหน้าที่ของ อบจ. ในตอนนั้น กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดภายในเขตจังหวัดซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล สุขาภิบาล และหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบอื่น

.. 2540  ได้มีการตรา พ... องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2540 มาใช้บังคับแทน พ...องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2498 การมี พ... องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2540 เกิดจากแรงกดดันจากการรวมตัวของสหพันธ์ อบจ. ทั่วประเทศ และผลกระทบจาก พ... สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.. 2537 ที่มีการประกาศยกฐานะสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งทำให้พื้นที่ดำเนินงานของ อบจ.ซ้อนทับกับ อบต. รวมทั้งการจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และรายได้ของ อบจ. เป็นต้น

นอกจากนั้น พ...องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2540 ได้แยกข้าราชการส่วนภูมิภาค      ออกจากฝ่ายบริหารของ อบจ. (ซึ่งเดิมผู้ว่าราชการจังหวัดเคยดำรงตำแหน่งนายก อบจ.) มาให้ สภาจังหวัดเป็นผู้เลือกนายก อบจ. ขึ้นทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร

โครงสร้าง อบจ. ตาม พ...องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2540


โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ตาม พ... องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2540 ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมาย อบจ. ฉบับล่าสุดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

1.    โครสร้างและองค์ประกอบของ อบจ. ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฝ่าย นิติบัญญัติ) และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฝ่ายบริหาร)

1.1    สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ในจังหวัดหนึ่งให้มีสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอันประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎร   เลือกตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด

สำหรับจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ถือเกณฑ์ตามจำนวนราษฎร     แต่ละจังหวัดตามหลักฐานทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง ดังนี้

(ก)     จังหวัดใดมีราษฎรไม่เกิน 500,000 คน มีสมาชิกสภาจังหวัดได้ 24 คน

(ข)     จังหวัดใดมีราษฎรเกินกว่า 500,000 คน แต่ไม่เกิน 1,000,000 คน มีสมาชิกได้     30 คน

(ค)     จังหวัดใดมีราษฎรเกินกว่า 1,000,000 คน แต่ไม่เกิน 1,500,000 คน มีสมาชิกได้     36 คน

(ง)      จังหวัดใดมีราษฎรเกินกว่า 1,500,000 คน แต่ไม่เกิน 2,000,000 คน มีสมาชิกได้     42 คน

(จ)     จังหวัดใดมีราษฎรเกิน 2,000,000 คนขึ้นไป มีสมาชิกได้ 48 คน

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 4 ปี

ให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกตั้งสมาชิกสภาเป็นประธานสภา 1 คน และเป็น รองประธานสภา 2 คน

1.2    นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายก อบจ. มีอำนาจแต่งตั้งรองนายก อบจ. ตามกฎหมายกำหนด

สำหรับรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้มาจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดังนี้

(ก)     ในกรณีมีสมาชิก 48 คน ให้มีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 4 คน

(ข)     ในกรณีมีสมาชิก 36-42 คน ให้มีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 3 คน

(ค)     ในกรณีมีสมาชิก 24-30 คน ให้มีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 2 คน

1.3    ข้าราชการส่วนจังหวัด

สำหรับเจ้าหน้าที่อื่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้นได้แก่ ข้าราชการส่วนจังหวัด ซึ่งรับเงินเดือนจากงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

ข้าราชการส่วนจังหวัดมีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและมีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารองจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

การบริหารงานจะแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ได้แก่ ส่วนอำนวยการดูแลกิจการทั่วไปของ อบจ. ส่วนแผนและงบประมาณรับผิดชอบเรื่องแผนและงบประมาณของ อบจ. ส่วนโยธารับผิดชอบทางด้านงานช่างและการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภค ส่วนการคลังดูแลด้านการเงิน การคลังและการเบิกจ่ายเงิน ส่วน กิจการสภา อบจ. รับผิดชอบงานของสภา อบจ.
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
นับตั้งแต่ปี 2540 อบจ. ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบอำนาจหน้าที่ไปจากเดิมโดยจะมีหน้าที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับจังหวัด ซึ่งเน้นการประสานงานการพัฒนาระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   ในระดับต่ำกว่าภายในจังหวัด

... องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2540  มาตรา 45 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของ อบจ. ไว้ดังนี้

1.    ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย

2.    จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด      ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

3.    สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น

4.    ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น

5.    แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่น

6.    อำนาจหน้าที่ของจังหวัดตาม พ... ระเบียบบริหาราาชการส่วนจังหวัด พ.. 2498  เฉพาะในเขตสภาตำบล

7.    คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

8.    จัดทำกิจการใดๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขต อบจ. และ      กิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้ อบจ. จัดทำตามที่กำหนดใน    กฎกระทรวง

9.    จัดทำกิจการอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ อบจ. เช่น พ... กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.. 2542

นอกจากนี้ อบจ. อาจจัดทำกิจการใดๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่น หรือ อบจ. อื่นนอกเขตจังหวัดได้ เมื่อได้รับความยินยอมจากองค์กรนั้นๆ รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคที่มอบให้ อบจ. ปฏิบัติ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

อำนาจหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น ฝ่ายบริหารจะเป็นผู้ดำเนินการโดยได้รับความเห็นชอบจากฝ่าย   นิติบัญญัติ โดยการอนุมัติข้อบัญญัติต่างๆ เช่น ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นต้น

การบริหารการคลังของ อบจ.

รายได้ของ อบจ. มาจากภาษีชนิดต่างๆ ที่ อบจ. เป็นผู้จัดเก็บเอง ได้แก่ ภาษีบำรุงท้องที่  ภาษี  โรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้ายและค่าธรรมเนียมต่างๆ บางส่วนมาจากภาษีบางชนิดที่รัฐบาลเป็นผู้จัดเก็บเองแล้วจัดสรรให้ อบจ. ตัวอย่างของภาษีเหล่านี้ที่เรารู้จักดี ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บโดยกรมสรรพากร ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน จัดเก็บโดยกรมการขนส่งทางบก ค่าภาคหลวงแร่และค่าภาคหลวงปิโตรเลียม โดยกรมทรัพยากรธรณี เป็นต้น และบางส่วนมาจากเงินอุดหนุนของรัฐบาล

นอกจากนี้ พ... องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2540 ยังกำหนดให้ อบจ. มีอำนาจออก     ข้อบัญญัติเพื่อเก็บ

1.    ภาษีบำรุง อบจ. จากสถานค้าปลีกน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และน้ำมันที่คล้ายกัน และ     ก๊าซปิโตรเลียมไม่เกินลิตรละห้าสตางค์ ยาสูบไม่เกินมวนละห้าสตางค์

2.    ค่าธรรมเนียมบำรุง อบจ. จากผู้พักในโรงแรม ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดใน             กฎกระทรวง

3.    ภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นจากภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร ค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตขายสุราและใบอนุญาตเล่นการพนันไม่เกินร้อยละสิบ

4.    ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นจากอัตราที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร กรณีที่ประมวลรัษฎากรเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละศูนย์ ให้ อบจ. เก็บในอัตราร้อยละศูนย์ กรณีที่ประมวลรัษฎากรเก็บในอัตราอื่น ให้ อบจ. เก็บหนึ่งในเก้าของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร

5.    ค่าธรรมเนียมใดๆ จากผู้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะที่ อบจ. จัดให้มีขึ้นตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

เมื่อ อบจ. มีรายได้ก็จำเป็นต้องกำหนดแนวทางในการใช้จ่าย ซึ่งในระดับประเทศ การบริหารงบประมาณแผ่นดินจะกระทำโดยร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ร่าง พ...งบประมาณรายจ่ายประจำปีนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อน รัฐบาลจึงจะนำงบประมาณไปใช้จ่ายในการบริหารประเทศได้ การบริหารงบประมาณของ  อบจ. ก็ใช้หลักการเดียวกัน  กล่าวคือ ฝ่ายบริหารจะต้องจัดทำร่างข้อบัญญัติ     งบประมาณรายจ่ายประจำปี  เพื่อให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน ฝ่ายบริหารคือ  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด จึงจะนำเงินงบประมาณไปใช้จ่ายได้
 
การกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนจังหวัด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540 มีเจตนารมณ์ที่มุ่งเน้นให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการบริหารกิจการตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย และเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น จึงมีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นในด้านต่างๆ ทั้งด้านโครงสร้างทางการบริหาร อำนาจหน้าที่ รายได้ การบริหารงานบุคคล และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการ   ปกครองท้องถิ่น สรุปได้ดังนี้

(1)     รัฐจะต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเอง (. 78)

(2)     รัฐต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามเจตนารมณ์ของประชาชน (. 284)

(3)     การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำเท่าที่จำเป็น (. 283)

(4)     องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหลายย่อมมีอิสระในการกำหนดนโยบายการปกครอง        การบริหารงานบุคคล การเงินการคลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ (. 284)
(5)     ให้มีคณะกรรมการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจในรูปแบบไตรภาคี ทำหน้าที่จัดสรรภาษีอากรและกำหนดอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กร     ปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง โดยต้องคำนึงถึงการกระจายอำนาจหน้าที่และรายได้เพิ่มขึ้นให้ท้องถิ่นเป็นสำคัญ (.284)

(6)     องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องประกอบด้วยสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือ      ผู้บริหารท้องถิ่น และต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น มีวาระคราวละ 4 ปี (.285)

(7)     ให้อำนาจราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในท้องถิ่นสามารถถอดถอนผู้บริหารหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น และสามารถขอให้สภาท้องถิ่นออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้ (.286-287)

(8)     ให้มีคณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นในรูปแบบไตรภาคีทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งพนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่น (. 288)

(9)     เพิ่มอำนาจให้ท้องถิ่นมีหน้าที่บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือวัฒนธรรม  อันดีของท้องถิ่น และการส่งเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (.289-290) จากการที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชน  ในท้องถิ่น แต่อย่างไรก็ตามความเป็นอิสระของท้องถิ่นดังกล่าวก็ยังคงอยู่ภายใต้เงื่อนไขของความเป็นกลไกหนึ่งของการบริหารราชการแผ่นดินที่เป็นภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐบาลที่จะต้องกำกับดูแล ทั้งนี้ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถบริหารกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปด้วยความถูกต้องตาม  ที่กฎหมายบัญญัติอันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยทั่วไป รัฐบาลจึงจำเป็นต้องกำกับดูแลท้องถิ่น  โดยผ่านการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัดและอำเภอ ซึ่งถือเป็นตัวแทนและกลไกสำคัญของรัฐบาลในการกำกับดูแลท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดตั้งโดยพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2540 และ   มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามมาตรา 45 และมาตรา 46 ซึ่งจากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวทำให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีบทบาทที่สำคัญในการช่วยพัฒนาท้องถิ่น คือ

1.    บทบาทในการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น ในภาพรวมของจังหวัดในรูปของแผนพัฒนาจังหวัด โดยรวบรวมแผนงานโครงการของหน่วยราชการส่วนท้องถิ่นทั้งหมดของจังหวัดที่หน่วยราชการส่วนท้องถิ่น แต่ละแห่งเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการเอง เพื่อให้เห็นภาพรวมและทิศทางการพัฒนาจังหวัดลดความ ซ้ำซ้อน และมีลำดับความสำคัญของแต่ละงานที่ชัดเจน

2.    สนับสนุนในการดำเนินการกิจกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะดำเนินการได้ จึงต้องให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดดำเนินการจัดทำ เช่น สนามกีฬา บ่อบำบัดน้ำเสียรวม เป็นต้น

3.    ประสานและดำเนินโครงการพัฒนา  ที่มีลักษณะคาบเกี่ยวระหว่างปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง หากแยกดำเนินการจะสิ้นเปลืองงบประมาณหรือส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างท้องถิ่นเอง เช่น ถนนสายหลักซึ่งผ่านเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลหลายแห่ง สถานที่ทิ้งขยะ สวนสาธารณะ เป็นต้น

การกำกับดูแล เนื่องจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง และเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตามหลักการการกระจายอำนาจโดยรัฐบาลกลาง ที่มุ่งกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีผู้บริหารมาจากเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่หรือโดยความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น และดำเนินการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลผ่านทางจังหวัด การควบคุมกำกับดูแลจึงต้องกระทำเท่าที่จำเป็น ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2540 กำหนด คือ

1.    ระดับกระทรวง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ หากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะรายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อวินิจฉัยสั่งการในเรื่องต่างๆ ที่ได้รับรายงานมา เช่น วินิจฉัยเกี่ยวกับการยับยั้งการปฏิบัติการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด การเพิกถอนมติของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดย   ผู้ว่าราชการจังหวัด การสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตำแหน่ง การยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

2.    ระดับจังหวัด  โดยผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฝ่ายบริหาร) และสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับของทางราชการ

นอกจากความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเกี่ยวกับการกำกับดูแลตาม พระราชบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้ว ยังมีการกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทยและจังหวัด ตามระเบียบและหนังสือสั่งการที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย เช่น ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการวางแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.. 2541 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.. 2541 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหาร   ราชการส่วนท้องถิ่น พ.. 2535 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.. 2541 ซึ่งสามารถแยกประเภทการกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดังนี้

·    การกำกับดูแลตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2540

·    การกำกับดูแลเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น

·    การกำกับดูแลเกี่ยวกับแผนพัฒนาท้องถิ่น

·    การกำกับดูแลเกี่ยวกับการพัฒนารายได้ท้องถิ่น

·    การกำกับดูแลเกี่ยวกับการเงินการคลังและการงบประมาณท้องถิ่น

·    การกำกับดูแลเกี่ยวกับการตรวจสอบการคลังท้องถิ่น

 
การกำกับดูแลตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2540

กฎหมายว่าด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กำหนดเรื่องการกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนจังหวัดไว้ โดยในมาตรา 77 ถึงมาตรา 80 ได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในกรณีดังต่อไปนี้ คือ

1.   ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติราชการโดยทั่วไปขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ และระเบียบข้อบังคับของทางราชการ ในการนี้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจ สั่งสอบสวนข้อเท็จจริงหรือสั่งให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดชี้แจงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

2.   ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่านายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติราชการในทางที่อาจนำมาซึ่งความเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือกระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎ หรือระเบียบข้อบังคับของทางราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยับยั้งการปฏิบัติการดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราวได้แล้วให้รายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ภายใน 15 วัน นับแต่วันออกคำสั่ง ซึ่งรัฐมนตรีจะต้องวินิจฉัยสั่งการเรื่องดังกล่าว ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงานจากผู้ว่าราชการจังหวัด คำสั่งของรัฐมนตรีในกรณีดังกล่าวให้ถือเป็นที่สุด

3.   ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถสั่งเพิกถอนมติของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งมิใช่    ข้อบัญญัติได้ ในกรณีที่ปรากฏว่ามตินั้นฝ่าฝืนกฎหมาย กฎ หรือระเบียบข้อบังคับของทางราชการหรือเป็นมติ   ที่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยคำสั่งเพิกถอนมติของผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องทำภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีมติและจะต้องแสดงเหตุผลของการเพิกถอนมตินั้นไว้ในคำสั่งด้วย แต่อย่างไรก็ตาม หากสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยังยืนยันมติเดิมด้วย คะแนนเสียง   ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเท่าที่มีอยู่ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานการยืนยันมติดังกล่าว และเหตุผลของการเพิกถอนมติของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อรัฐมนตรีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีมติยืนยันมติเดิม ซึ่งรัฐมนตรีจะต้องวินิจฉัยสั่งการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงานจากผู้ว่าราชการจังหวัด

4.   ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถดำเนินการสอบสวนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ หากพบว่านายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดละเลยไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่หรือปฏิบัติการโดยไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่หรือประพฤติตนฝ่าฝืนความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจใช้วิธีตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการหรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทำการสอบสวนก็ได้ และหากผลการสอบสวนปรากฏว่า นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีพฤติการณ์ดังกล่าวจริง ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตำแหน่ง คำสั่งของรัฐมนตรีในกรณีนี้ให้ถือเป็นที่สุด

5.   ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ยุบ      สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ ในกรณีที่เห็นว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นการคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม คำสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของรัฐมนตรีจะต้องแสดงเหตุผลไว้ด้วย และเมื่อมีการยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดใหม่ภายใน 45 วัน

 
แผนภูมิ : โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด

(ตาม พ... องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2540)

 

กล่องข้อความ: โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด